ศิลปะ วัฒนธรรม จังหวัดสุราษฏธานี
ศิลปหัตถกรรมจากกระจูด
กระจูดเป็นพืชล้มลุก ชอบขึ้นในพื้นที่ที่มีน้ำขัง จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีแหล่งกระจูดที่สำคัญ ที่บ้านบ่อกรัง ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน
และ ตำบลท่าเรือ อำเภอบ้านนาเดิม ซึ่งเป็นแหล่งที่มีกระจูดมากมาย ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากต้นกระจูด มาใช้ในการผลิตผลงานศิลปหัตถกรรม
โดยนำมาผลิตเป็นเครื่องสานชนิดต่างๆ เช่น สานเป็นเสื่อ กระเป๋า หมวก แฟ้มเอกสารต่างๆ เป็นต้น
กระจูดเป็นพืชล้มลุก ชอบขึ้นในพื้นที่ที่มีน้ำขัง จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีแหล่งกระจูดที่สำคัญ ที่บ้านบ่อกรัง ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน
และ ตำบลท่าเรือ อำเภอบ้านนาเดิม ซึ่งเป็นแหล่งที่มีกระจูดมากมาย ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากต้นกระจูด มาใช้ในการผลิตผลงานศิลปหัตถกรรม
โดยนำมาผลิตเป็นเครื่องสานชนิดต่างๆ เช่น สานเป็นเสื่อ กระเป๋า หมวก แฟ้มเอกสารต่างๆ เป็นต้น
ผ้าไหมพุมเรียง
ผ้าไหมพุมเรียง เป็นงานศิลปหัตถกรรม ซึ่งสืบทอดกันมาในกลุ่มชาวไทย มุสลิม ที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศิลปะลวดลายผ้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลวดลายผ้าพุมเรียง ซึ่งเป็นลายดั้งเดิม และเป็นที่นิยมมาแต่ครั้งโบราณ มีหลายแบบ เช่น
ลายนพเก้า ลายดอกพิกุล ลายราชวัตร ลายผ้ายกเชิงครุฑ ลายก้านต่อดอก ลายดอกแก้ว ลายดอกบุหงา ลายยกเบ็ด ลายดอกแมลงวัน
ลายราชสีห์เข้าถ้ำ เป็นต้น
ผ้าทอพุมเรียงที่ทอเสร็จเรียบร้อย สามารถนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายรูปแบบ นอกจากการทำเป็นผ้าถุง และ ยังสามารถ
ทำเป็นเสื้อ กระโปรง กระเป๋า กรอบรูป พวงกุญแจ เนคไท และ อื่นๆ อีกมากมาย
ผ้าไหมพุมเรียง เป็นงานศิลปหัตถกรรม ซึ่งสืบทอดกันมาในกลุ่มชาวไทย มุสลิม ที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศิลปะลวดลายผ้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลวดลายผ้าพุมเรียง ซึ่งเป็นลายดั้งเดิม และเป็นที่นิยมมาแต่ครั้งโบราณ มีหลายแบบ เช่น
ลายนพเก้า ลายดอกพิกุล ลายราชวัตร ลายผ้ายกเชิงครุฑ ลายก้านต่อดอก ลายดอกแก้ว ลายดอกบุหงา ลายยกเบ็ด ลายดอกแมลงวัน
ลายราชสีห์เข้าถ้ำ เป็นต้น
ผ้าทอพุมเรียงที่ทอเสร็จเรียบร้อย สามารถนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายรูปแบบ นอกจากการทำเป็นผ้าถุง และ ยังสามารถ
ทำเป็นเสื้อ กระโปรง กระเป๋า กรอบรูป พวงกุญแจ เนคไท และ อื่นๆ อีกมากมาย
หมวกพุมเรียง
เป็นศิลปหัตถกรรมของกลุ่มชนชาวพุทธ ที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา ซึ่งสืบทอดมรดกในการทำมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ไม่ปรากฎ
หลักฐานที่แน่ชัดว่าได้ริเริ่มทำมาตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อกันว่าเดิมนั้นคงจะสืบทอดทำกันในหมู่บ้าน โดยทั่วไปใช้ัวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
เช่น ใบตาล ใบลาน ปอแก้ว กระจูด
ลักษณะของหมวกพุมเรียง ที่แปลกไปจากหมวกสานของที่อื่นคือ การสานจะเป็นลักษณะเส้นยาวก่อน แล้วจึงนำมาเย็บ
เป็นรูปทรงหมวก ภายหลัง ซึ่งหมวกลักษณะนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "หมวกรานี"
เป็นศิลปหัตถกรรมของกลุ่มชนชาวพุทธ ที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา ซึ่งสืบทอดมรดกในการทำมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ไม่ปรากฎ
หลักฐานที่แน่ชัดว่าได้ริเริ่มทำมาตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อกันว่าเดิมนั้นคงจะสืบทอดทำกันในหมู่บ้าน โดยทั่วไปใช้ัวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
เช่น ใบตาล ใบลาน ปอแก้ว กระจูด
ลักษณะของหมวกพุมเรียง ที่แปลกไปจากหมวกสานของที่อื่นคือ การสานจะเป็นลักษณะเส้นยาวก่อน แล้วจึงนำมาเย็บ
เป็นรูปทรงหมวก ภายหลัง ซึ่งหมวกลักษณะนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "หมวกรานี"
ศิลปหัตถกรรมจากมะพร้าว
ได้มาจากวัสดุหลายอย่าง เช่น ก้านมะพร้าว ผลมะพร้าวที่ยังไม่ปอกเปลือก ไกมะพร้าว กะลามะพร้าว
เปลือกจากผลมะพร้าว ลำต้น ดอก และ ใบ
- ก้านมะพร้าวใช้สานเป็นกระเป๋าหิ้วหลายๆ รูปแบบ สำหรับใส่สิ่งของ ทำเป็นมูลี่ม่าน ประตูหน้าต่าง กรอบรูป ไม้กวาด เสวียนหม้อ
- ผลที่ยังไม่ปอกเปลือก แกะเป็นรูปสัตว์ใช้ประดับบ้านเรือน
- ไกมะพร้าว ทำเป็นหมวก กระเป๋าสตางค์ ดอกไม้ ที่ใส่กระดาษ
- กะลามะพร้าว ใช้ทำจวัก กระบวย พวงกุญแจ ที่ใส่ของจุกจิก พานใส่ของใช้ ที่เขี่ยบุหรี่ ตะแกรงลอดช่อง
- ลำต้น ใช้ทำม้านั่ง ไม้เท้า ไม้แขวนเสื้อ
- ดอกมะพร้าว ใช้ติดเป็นรูปดอกไม้ หรือประดับตกแต่งรถในงานนักขัตฤกษ์
- ใบ ทำเป็นกระเป๋า พัด กล่องใส่ของ ที่รองสิ่งของ เป็นต้น
หมุก
เป็นเครื่องสานที่ทำขึ้นเพื่อใส่สิ่งของขนาดเล็ก ๆ ซึ่งทำจากหญ้าตีนกา กระจูด ใบเตย หรือใบตาลโตนด แต่ที่นิยมทำจาก
หญ้าตีนกา เนื่องจากจะได้หมุกที่สวยงามกว่า เพราะหญ้าตีนกา มีขนาดโตเท่าๆ กันจึงไม่ต้องนำมาผ่า หรือทำให้มีขนาดเท่ากัน
เช่นวัสดุอย่างอื่น
กระเชอเกาะพะงัน
เป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่ทำกันแพร่หลายอยู่ในท้องที่ ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการทำ ได้แก่ ไม้ไผ่ หวาย คลุ้ม และย่านลิเพา
การเตรียมวัสดุต้องใช้เวลาหลายวัน ถ้าเป็นการสานกระเชอขนาดล็ก จะใช้วัสดุชักผ่านรู้สังกะสี เพื่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการสานกระเชอ
เป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่ทำกันแพร่หลายอยู่ในท้องที่ ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการทำ ได้แก่ ไม้ไผ่ หวาย คลุ้ม และย่านลิเพา
การเตรียมวัสดุต้องใช้เวลาหลายวัน ถ้าเป็นการสานกระเชอขนาดล็ก จะใช้วัสดุชักผ่านรู้สังกะสี เพื่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการสานกระเชอ
ประเพณี วัฒนธรรม จังหวัดสุราษฏธานี
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีชักพระทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่นี่มีอีกชื่อหนึ่งก็คืองานเดือนสิบเอ็ด ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับเทศกาลออกพรรษา กิจกรรมที่สำคัญได้แก่การประกวดเรือพระ ซึ่งจะมีทั้งเรือพระ (บก) และเรือพระ (น้ำ) ซึ่งเรือพระก็จะเปนหารตกแต่งให้สวยงามโดยการแกะสลักไม้ ตกแต่งจำลอง เสมือนฉากที่พระพุทธเจ้ากลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึง ซึ่งผู้ที่ได้ลากเรือพระจะได้บุญมาก การประกวดพุ่มผ้าป่าจะเปนการจำลองพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าแสดงออกเป็นฉาๆ ซึ่งทางส่วนราชการ และเอกชนจะมีการประกวดกัน นอกจากนี้ ยังมีการติดพุ่มผ้าป่าโดยเปนการติดของใช้สำหรับพระภิกษุสงค์และจัดเงินและ ของมาทำบุญกัน ทั่วทั้งเมืองในรุ่งเช้าวันชักพระ จัดขึ้นบริเวณเขื่อนลำนำตาปีไล่ไปตั้งแต่บริเวณศาลหลักเมืองจนกระทั่งถึง โรงแรมวังใต้ ขึ้นอยู่กับจังหวัดสุราษฎร์ธานีว่าในแต่ละปีจะเลือกเอาบริเวณใด ซึ่งประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า และแข่งขันเรือยาวทางจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะจัดเปนงานใหญ่ที่สุดในภาคใต้
ประเพณีชักพระ
ประเพณีชักพระทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่นี่มีอีกชื่อหนึ่งก็คืองานเดือนสิบเอ็ด ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับเทศกาลออกพรรษา กิจกรรมที่สำคัญได้แก่การประกวดเรือพระ ซึ่งจะมีทั้งเรือพระ (บก) และเรือพระ (น้ำ) ซึ่งเรือพระก็จะเปนหารตกแต่งให้สวยงามโดยการแกะสลักไม้ ตกแต่งจำลอง เสมือนฉากที่พระพุทธเจ้ากลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึง ซึ่งผู้ที่ได้ลากเรือพระจะได้บุญมาก การประกวดพุ่มผ้าป่าจะเปนการจำลองพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าแสดงออกเป็นฉาๆ ซึ่งทางส่วนราชการ และเอกชนจะมีการประกวดกัน นอกจากนี้ ยังมีการติดพุ่มผ้าป่าโดยเปนการติดของใช้สำหรับพระภิกษุสงค์และจัดเงินและ ของมาทำบุญกัน ทั่วทั้งเมืองในรุ่งเช้าวันชักพระ จัดขึ้นบริเวณเขื่อนลำนำตาปีไล่ไปตั้งแต่บริเวณศาลหลักเมืองจนกระทั่งถึง โรงแรมวังใต้ ขึ้นอยู่กับจังหวัดสุราษฎร์ธานีว่าในแต่ละปีจะเลือกเอาบริเวณใด ซึ่งประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า และแข่งขันเรือยาวทางจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะจัดเปนงานใหญ่ที่สุดในภาคใต้
งานวันเงาะโรงเรียน
หากจะกล่าวถึงผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้วเชื่อเลยว่าทุกคนย่อมนึกถึง เงาะ ขึ้นเป็นลำดับแรก และเป็นความภูมิใจของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีเสียด้วย เพราะเงาะที่นี่จะไม่เหมือนเงาะที่อื่น หวาน ร่อน กรอบ เป็นที่ประทับใจไปทั่ว ดังนั้นเพื่อเป็นการแสดงถึงความภาคภูมิใจดังกล่าวจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงจัด ให้มีการนำผลผลิตดังกล่าวและผลผลิตอื่น ๆ มาจำหน่ายและตั้งชื่อว่า งานวันเงาะโรงเรียน จัดขึ้นประมาณต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี
หากจะกล่าวถึงผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้วเชื่อเลยว่าทุกคนย่อมนึกถึง เงาะ ขึ้นเป็นลำดับแรก และเป็นความภูมิใจของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีเสียด้วย เพราะเงาะที่นี่จะไม่เหมือนเงาะที่อื่น หวาน ร่อน กรอบ เป็นที่ประทับใจไปทั่ว ดังนั้นเพื่อเป็นการแสดงถึงความภาคภูมิใจดังกล่าวจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงจัด ให้มีการนำผลผลิตดังกล่าวและผลผลิตอื่น ๆ มาจำหน่ายและตั้งชื่อว่า งานวันเงาะโรงเรียน จัดขึ้นประมาณต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี
การละเล่นพื้นบ้าน
* การละเล่นเด็ก ได้แก่ จุ้มจี้ จี้จิบ ลูกหวือ ชักลูกยาง ทองสูง กบกับ หมากโตน บอกโผละ ลูกฉุด ทอยหลุม เหยก เตย และหมากขุม
* การละเล่นผู้ใหญ่ ได้แก่ เพลงชักพระอำเภอเกาะพะงัน เพลงบอก เพลงนา คำตัดประเพณีชักพระ ลิเกป่า มโนห์รา และหนังตะลุง
ลิเกป่า
* การละเล่นผู้ใหญ่ ได้แก่ เพลงชักพระอำเภอเกาะพะงัน เพลงบอก เพลงนา คำตัดประเพณีชักพระ ลิเกป่า มโนห์รา และหนังตะลุง
อาหารพื้นบ้าน * ได้แก่ ผัดไทยไชยาและผัดไทยท่าฉาง(จะต่างกับผัดไทยภาคกลาง ที่ใส่น้ำกระทิ มีรสเผ็ดเล็กน้อย อาจจะใส่ เต้าหู้ หรือกุ้งเปนเครื่องเคียงด้วยก็ได้)ทานพร้อมผัก ประเภทแกง แกงเหลือง แกงส้มอ้อดิบ ผัดสะตอใส่กะปิ แกงหมูกับลูกเหรียงเห็ดแครงปิ้งสาหร่ายข้อ แกงป่า ยำปลาเม็ง(เฉพาะที่่่อำเภอบ้านนาเดิมและอำเภอบ้านนาสาร)โล้งโต้ง(เฉพาะที่ สุราษฎร์ธานี)ประเภทน้ำพริก น้ำพริกกะปิ น้ำพริงมุงมัง(น้ำพริกตะลิงปิง)น้ำพริกปลาทู ประเภทอาหารทะเล เนื่องจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นชื่อเรื่องหอยนางรมที่มีขนาดใหญ่และสดแล้ว ยังมีหอยหวาน ที่มีรสชาติดีเช่นกัน แล้วยังมีกุ้งแม่น้ำตาปี ที่ตัวใหญ่ สด อร่อยอีกด้วย
กีฬาชนควาย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กีฬาชนควาย ที่เกาะสมุยมีลักษณะคล้ายกับกีฬาชนวัวของจังหวัดสงขลา จะจัดขึ้นในโอกาสที่มีงานมงคล หรือเทศกาลต่างๆ เช่นตรุษสงกรานต์ และวันขึ้นปีใหม่
การชนควาย
ชนควายเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะในท้องที่อำเภอเกาะสมุยเป็นที่นิยมกันมาก การชนควายเริ่มมีขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบแต่ว่าสมัยที่เกาะสมุยขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ที่เกาะนี้มีควายมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การที่ราษฎรเห็นควายเพริดเที่ยวชนกัน ขวิดกัน จึงน่าจะเป็นต้นเค้าของการนำควายมาชนกันเกิดเป็นกีฬาชนควายอย่างเช่นปัจจุบัน
การเลี้ยงควายชน ผู้เลี้ยงจะต้องรู้จักลักษณะของควาย เช่น ลักษณะของควายชนโดยทั่วไป ถ้าเป็นควายดำจะต้องมีหางพวง มีขวัญเป็นเอก เท้าหน้า เท้าหลัง แข็งแรง หน้าใหญ่ โคนหางใหญ่ สีกายดำสนิท เป็นต้น ถ้าเป็นควายขาว (เผือก) จะต้องมีหางสั้น หน้าผากนูน และผิวกายสดใส
การเลี้ยงควายชนจะต้องเลี้ยงดูอย่างพิถีพิกันเช่นเดียวกับการเลี้ยงวัวชน ควายต้องได้ออกกำลังสม่ำเสมอ ได้กินอาหารที่มีประโยชน์ และจะต้องได้มีโอกาสฝึกชนในบางครั้ง นอกจากนี้จะต้องระมัดระวังไม่ให้ใครเข้าใกล้ โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้ามในระยะเวลาใกล้ๆจะถึงเวลาที่จะชน เพราะอาจจะมีผู้วางยาทำให้เสียควายได้
ก่อนการชนจะมีการเปรียบคู่ชน โดยเจ้าของควายทั้งสองจะต้องไปดูควายของฝ่ายตรงข้าม หากไม่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันมากก็จะยินยอมให้ชนกันได้แต่เดิมการชนควาย ชนกันหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว สนามชนควายก็คือนาข้าวนั่นเอง ส่วนใหญ่จะนัดชนกันในโอกาสงานประจำปีของวัดต่างๆ หรืองานตรวจเลือกทหาร แต่ในปัจจุบันการชนควายในสนามทุ่งนาหมดไป เนื่องจากมีผู้เปิดบ่อนชนควายขึ้นซึ่งชนกันได้ทุกฤดูกาล
เมื่อใกล้ถึงวันจะชนการดูแลรักษาควายจะต้องพิถีพิถันมากยิ่งขึ้น เจ้าชองต้องนำควายไปเลี้ยงดูใกล้ๆกับสนาม เมื่อถึงเวลาชนจะมีหมอไสยศาสตร์ของแต่ละฝ่ายทำพิธีกันอย่างเอาจริงเอาจัง พิธีจะหมดสิ้นลงเมื่อปล่อยควายเข้าชนกันแล้ว การชนจะยุติลงเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้วิ่งหนีออกจากสนาม
ความเชื่อเกี่ยวกับควายชนก็เหมือนๆกับวัวชน คือเชื่อเรื่องลักษณะของควายที่มีลักษณะต้องตามตำราว่าจะได้เปรียบควายคู่ชน ที่มีลักษณะด้อยกว่า และควายที่มีลักษณะดีจะนำความเป็นศิริมงคลมาสู่ผู้เลี้ยง นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออื่นๆอีกมาก
การชนควายมีชนกันทั่วไปในอำเภอที่มีการทำนาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ที่มีชนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันก็เฉพาะที่อำเภอเกาะสมุยเท่านั้น
เที่ยวชม งานวันเงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษร์ธานี
งานวันเงาะโรงเรียน
งานวันเงาะโรงเรียน เงาะโรงเรียนเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของสุราษฎร์ธานี จนได้เป็นหนึ่งใน คำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า "เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ"
งานวันเงาะโรงเรียน จัดขึ้นประมาณ 2-8 สิงหาคมของทุกปี งานวันเงาะโรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นผลิตผล ทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของจังหวัด เงาะโรงเรียนที่มีคุณภาพ เปลือกภายนอกขนต้องไม่ยาวมาก มีผิวสีแดงอมชมพูไม่แดงจัด เนื้อในต้องหวาน กรอบ ล่อนไม่ติดเมล็ด งานนี้จะจัดขึ้น บริเวณสนามศรีสุราษฎร์ และริมเขื่อนแม่น้ำตาปีในตัวเมือง เพื่อนำผลิตผลเงาะโรงเรียน และผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ มาแสดงและจำหน่ายแก่ผู้สนใจ กิจกรรมที่นอกเหนือจากนี้ได้แก่ นิทรรศการทางการเกษตร การแสดงของสุนัขสงคราม กองบิน 71 การแข่งขันลิงขึ้นมะพร้าว การประกวด นกเขาใหญ่การแข่งขันจักรยานสามล้อและการ ประกวดธิดาเงาะ ประกวดรถประดับด้วยผลเงาะและผลไม้
ที่มา:http://chm-thai.onep.go.th/chm/data_province/suratthani/pa_paenee.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น